ประวัติความเป็นมา

สบช.โมเดล

ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs; Non-Communicable Diseases) เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ จากข้อมูล 2019 Health SDG Profile: Thailand พบว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนไทย มาจากโรคหลอดเลือดสมอง 23% โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่นๆ 23% โรคเบาหวาน 4% รวม 50% ของสาเหตุหลักจากการเสียชีวิตของคนไทย อีกทั้ง ยังพบว่า ต้องสูญเสียงบประมาณดูแลผู้ป่วยกลุ่ม NCDs จำนวน 308,337 ล้านบาท/ปี แยกเป็นกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (DM,HT,CVS,CNS) จำนวน 17.5 ล้านราย สูญเสียเงินดูแลสุขภาพ จำนวน 302,337 ล้านบาท/ปี, โรคไตวาย จำนวน 3 หมื่นราย สูญเสียเงิน 6,000 ล้านบาท/ปี และ จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 กระทรวงสาธารณสุข ยังค้นพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 สูงกว่ากลุ่มเสี่ยงอื่นๆอีกด้วย

“สบช.โมเดล” ก่อกำเนิดจากนโยบายของคณะผู้บริหารสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ที่มีความมุ่งหวังให้องค์กรในสังกัดสถาบันทุกแห่ง ได้ร่วมมือกับชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ต่างๆสำหรับวิเคราะห์ ออกแบบ วางแผน เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วย “ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี” ที่มุ่ง “สร้างชุมชน สร้างสุข” ภายใต้โครงการสร้างชุมชนสุขภาวะด้วย สบช.โมเดล “1วิทยาลัย 1 ชุมชน เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2565 – 2567”

Message us